วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562

AS/RS

 ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ
    ( Automated Storage/Retrieval System หรือเรียก AS/RS )


คือการทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดังที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุการรับวัสดุรวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่ายที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้าซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
- Unit Load AS/RS
- Miniload AS/RS
- Man-on-Board AS/RS หรือ Manaboard AS/RS
- Automated Item Retrieval System
- Deep-Lane AS/RS

         องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS
1.      โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)
2.      เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
3.      หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
4.      สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)

อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS
1.      รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)
2.      อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม
3.      สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
4.      สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)

การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS
การแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.      จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
2.      หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
3.      ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ

การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
1.      ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ
2.      สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
3.      ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ
4.      สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
5.      ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
6.      สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน





ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

ระบบสายพานลำเลียง

ระบบสายพานลำเลียงแบบPVC



           ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด




รถ AGV

 AGV Unit Load Carrier


รถ AGV ชนิดนี้จะใช้สำหรับเคลื่อนย้าย Unit Load จาก สถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง โดยปกติแล้วรถ AGV ประเภทนี้จะมีระบบนำชิ้นงานเข้าออกจาก รถ AGV แบบอัตโนมัติติดตั้งอยู่ด้วย ซึ่งระบบนี้อาจ มีการขับเคลื่อนด้วย ลูกกลิ้ง สายพาน แท่นลิฟต์ หรืออุปกรณ์ทางกลอื่น ๆ


วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2562

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม


หุ่นยนต์อุตสาหกรรมหรือ Industrial Robot เกิดขึ้นแล้วจริงๆบนโลกใบนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างเหมาะสมเป็นอย่างมาก เนื่องจากหุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆนั้นก็ถูกออกแบบมา เพื่องานที่มีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพของงานที่ได้ใช้งานหุ่นยนต์อย่างถูกต้องและเหมาะสมสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นเครื่องทุ่นแรงชั้นดีที่จะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้นไม่จำเป็นต้องใช้แรงตัวเองเยอะเหมือนกับสมัยก่อนอีกต่อไปหุ่นยนต์เหล่านี้จะมีระบบการจัดการตามคำสั่งที่เราได้ป้อนเข้าไปให้และก็จะทำตามคำสั่งเหล่านั้น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเมื่อเลือกซื้อหุ่นยนต์เหล่านี้ไปใช้จะสามารถเห็นผลได้ในระยะยาวทันทีไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของต้นทุนที่ถูกลงเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานจำนวนมากในขั้นตอนกระบวนการทางการผลิตการดูแลที่ง่ายหากมีปัญหาก็สามารถซ่อมแซได้ไม่ต้องกลัวว่าจะหนีไปไหนเมื่อหมดสภาพก็สามารถซื้อมาใช้งานได้ใหม่และทุกวันนี้เองหลายๆธุรกิจอุตสาหกรรมก็เริ่มมีการนำเอาIndustrial Robotเหล่านี้ไปอยู่ในธุรกิจตัวเองมากขึ้น 
หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมเป็นเครื่องจักรกลอัตโนมัติอีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกออกแบบและสร้างมาเพื่อนำ มาใช้ทดแทนคนในกระบวนการผลิตต่างๆหรือนำมาใช้เพื่อช่วยในกระบวนการผลิตในลักษณะหุ่นยนต์ ทำงานร่วมกับคนซึ่งหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างมานั้นมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ต้องการนำมาประยุกต์ใช้งาน  

Parallel Robot



Parallel Robot หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Delta Robot เป็นหุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับแมงมุม ใช้การขยับในรูปทรงเรขาคณิตมีจุดเด่นในการขยับและจับชิ้นส่วนได้อย่างแผ่วเบาทำงานได้อย่างอิสระภายใต้แกน X Y และ Z เป็นหุ่นยนต์แบบคู่ขนานที่เป็นกลไกแบบปิด (Stewart Platform) หรือ หุ่นยนต์สามเหลี่ยม (Delta Robot) ประกอบด้วยฐาน End Effector และขาแบบแกนต่อ เลื่อนขับเคลื่อนด้วยกระบอกไฮดรอลิกส์หรือนิวแมติกส์ผ่านข้อต่อ universal joint ที่ใช้กด อัดหรือยืดตัวจึงไม่เกิดการโค้งงอ ท าให้มีน้ าหนักเบาและสามารถเพิ่มความรวดเร็วแม่นย าใน การท างานได้ จึงนิยมนำมาใช้ในทางการแพทย์ การบรรจุภัณฑ์เป็นต้น




SCARA Robot


Selective Compliance Assembly Robot Arm (SCARA Robot) เป็นหุ่นยนต์ที่มีแกนที่ 1 และแกนที่ 3 หมุนรอบแกนแนวตั้ง และแกนที่ 2 จะเคลื่อนที่ขึ้นลง (Prismatic) ทำให้เคลื่อนที่ขึ้นลงและแนวระนาบที่ไม่ต้องการการหมุนมากได้รวดเร็ว แม่นย าสูง มักใช้ในงาน ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์งานตรวจสอบ (Inspection) งานบรรจุภัณฑ์ (Packaging) แต่ไม่เหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนเชิงกล (Mechanical Part) ที่ต้องหมุน (Rotation) ในลักษณะมุมหลายมิต


Revolute


Articulated Arm (Revolute) เป็นหุ่นยนต์ที่ทุกแกนจะเคลื่อนที่แบบหมุน (Revolute) คล้ายกับช่วงเอว ท่อนแขนบน ท่อนแขนล่าง ข้อมือของมนุษย์จึงเข้าถึงตำแหน่งต่างๆได้ดีและใช้งานได้หลากหลาย เช่น งานเชื่อม Spot Welding,Path Welding,งานยกของ,งานตัด,งานทากาว,งานพ่นสีและงาน Sealing เป็นต้น 


วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562

เครื่องจักร NC CNC DNC

เครื่องจักร NC ย่อมาจาก Numerical Control 
หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ NC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว

ระบบ NC มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
       1.ชุดคำสั่ง (Programmed)
คือคำสั่งในแต่ละขั้นตอนเพื่อกำหนดให้เครื่องจักร NC ทำงานตามที่เราต้องการ โดยที่ชุดคำสั่งนี้จะถูกสร้างขึ้นในลักษณะของตัวเลข ตัวอักษรสัญลักษณฺ์ต่างๆ แล้วเก็บไว้ในเทปกระดาษที่เจาะรู เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะใช้เครื่องอ่านเทปเพื่อแปลรหัสคำสั่งให้ทำงานตามขั้นตอน.

       2.หน่วยควบคุมการทำงานของเครื่องหรือเอ็มซียู (MCU : Machine Control Unit)
คือส่วนที่ทำหน้าที่อ่านและตีความหมายของคำสั่งเพื่อแยกคำสั่งออกเป็นสัญญาณไปควบคุมเครื่องจักรต่อไป ประกอบไปด้วยเครื่องอ่านเทปช่องส่งสัญญาณควบคุม(Control Output Signal) ระบบการตรวจสอบแล้วส่งผลย้อนกลับ(Feedback Transducer) และแผงควบคุม(Control Panel) สำหรับควบคุมการเปิด/ปิดเครื่องจักร NC
      3.เครื่องจักร NC(NC Machine Tool)
เป็นส่วนที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เราเขียนขึ้น






เครื่องจักร CNC ย่อมาจาก Computer Numerical Control 
หมายถึงเครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติที่มีการทำงานด้วยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยตัวเครื่องจะทำงานตามแบบที่เราได้จัดใส่โปรแกรมการทำงานเข้าไปและสามารถใช้ได้หลายภาษาซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เครื่องจักรชนิดนี้กับงานโลหะที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำหรือมีความซับซ้อนสูงโดยมีจุดประสงค์ในสร้างเครื่องCNCขึ้นมาเพื่อให้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติในแบบรวดเร็ว แม่นยำ และสามารถทำงานในแบบที่ซับซ้อนได้ดีด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมมุมต่างๆ ได้อย่างละเอียด







เครื่องจักร DNC ย่อมาจาก Distribution Numerical Control
หมายถึงระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆกันได้ในเวลาเดียวกัน








วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สมาชิกในชั้นเรียน อุตสาหการห้องA


    สมาชิกในห้องเรียน
            ชื่อ                                                                                                                 ชื่อเล่น
  1. อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค                                                                                 อาจารย์ปาล์ม
  2. นายอัษฎาวุธ หนูเกลี้ยง                                                                                  เค
  3. นางสาวอิสรา จันทร์ดำ                                                                                  แฟร์
  4. นางสาวอรณี สว่างเนตร                                                                                มิ้ว
  5. นายเสฎฐวุฒิ ศรีอนันต์                                                                                  ตั้น
  6. นางสาวศตพร วงษ์นิกร                                                                                 พิ้งค์
  7. นายศตวรรษ อินทร์แก้ว                                                                                เบียร์
  8. นายธนายุต เกื้อตุ้ง                                                                                         จอม
  9. นายอิบรออิม หลีหวัน                                                                                   ฮิม
  10. นายยศัสวิน ชูพันธ์                                                                                        พีค
  11. นายพลวัฒน์ ชุมเสน                                                                                      พิว
  12. นายพีรพัฒน์ พรมเสน                                                                                   ฮาร์ท
  13. นายคณาพัฒน์ เหมพันธุ์                                                                                แทน
  14. นายนนธวัช มันขวาง                                                                                     ปุ๊บ
  15. นางสาวณัฐมน นาคำมูล                                                                                ทราย
  16. นายจิรภัทร ลีลาศรีสุนทร                                                                              โจ้
  17. นายพิชัยยุทธ มณีนิล                                                                                     บ่าว
  18. นายสุกฤษฎิ์ สุขใส                                                                                        อ๊อฟ
  19. นายอัสรี นาปาเลน                                                                                        กีม
  20. นายจุติภูมิ แก้วบุตร                                                                                       ต๊ะ
  21. นายชลสิทธิ์ ชลยุทธโยธิน                                                                            โจ
  22. นายภราดร สุคลแก้ว                                                                                     ดอน
  23. นายณัฐภัทร ประสิทธิ์สร                                                                              เกม
  24. นายธนภัทร รังษีโกศัย                                                                                  โอ๊บ
  25. นายนิรวิทธ์ หมาดหวา                                                                                  ซัน
  26. นายชาญฤทธิ์ จูดสังข์                                                                                    ปาล์ม
  27. นายศรศรัณย์ เภาแก้ว                                                                                    ป๋อม
  28. นายชัยณรงค์ สุวรรณกันทร                                                                         โด่ง
  29. นายกันทร ชูแก้ว                                                                                           กัน
  30. นายวชิรา คงมั่นประกายกิจ                                                                         โจ
  31. นางสาววิภาวี สมสุข                                                                                     ต้าร์
  32. นายพัชรพล ขันทอง                                                                                     แหลม
  33. นางสาวมนัสนันท์ แสงสุวรรณ                                                                     ขวัญ
  34. นางสาวอักษราภัค ยอดซ้าย                                                                          เอิร์น
  35. นายสหัสวรรษ พิธกิจ                                                                                    บอส
  36. นายจักริน เเซ่วุ่น                                                                                            มิว
  37. นายกรวิชญ์ เจียะคง                                                                                       เกมส์  

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล

บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล


เทคโนโลยีการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                   ตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ดังนี้
                   เทคโนโลยี หมายถึงวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
                  สารสนเทศ  หมายถึง  ข่าวสาร  การแสดงหรือชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ
                  ข้อมูล  หมายถึง  ข้อเท็จจริง  หรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง
                  การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง  ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ช่องทางการส่งข้อมูล ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ และหน่วยรับข้อมูลหรือผู้รับสาร
                   จากความหมายดังกล่าว  สามารถกล่าวขยายอธิบายเพิ่มเติมได้  คือ
                   เทคโนโลยี (Technology) มีความหมายมาจากคำ 2 คำ คือเทคนิค (Technique) ซึ่งหมายถึง  วิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และคำว่า ลอจิก (Logic) ซึ่งหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอนเพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว (Speed) ความน่าเชื่อถือ (Reliably) และความถูกต้อง  ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวถึงนี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในเครื่องคอมพิวเตอร์
       อย่างไรก็ตาม  ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี  ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้นเพราะเทคโนโลยีที่เราพบเห็นยังมีอีกหลายอย่าง เช่น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร  และ โทรคมนาคมเทคโนโลยีเครือข่าย  เทคโนโลยีสำหรับการผลิต  การจัดการในงานธุรกิจและงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
       เทคโนโลยี  ในความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็คือ  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยประมวลผลข้อมูลให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ  โดยระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ฮาร์ดแวร์  หรือตัวเครื่องและอุปกรณ์รอบข้าง  ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม  และผู้ทำงานที่ต้องการทำงานอย่างสัมพันธ์กัน
                   การสื่อสาร (Communication)  แต่เดิมมักได้ยินแต่คำว่า IT  หรือ Information Technology  เท่านั้นต่อมาได้นำตัว C หรือ Communication เข้ามาร่วมด้วย  เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาอย่างมาก  และสามารถที่จะนำสื่อสารในเทคโนโลยีได้
                   การสื่อสารครอบคลุมประเด็นในเรื่ององค์ประกอบ  3  ส่วน ได้แก่  ผู้ส่งสาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร และมีระบบการสื่อสาร 2 ประเภท คือ ประเภทมีสาย  และประเภทไม่มีสายหรือไร้สาย  เทคโนโลยีการสื่อสาร  ได้แก่  อินเทอร์เน็ต  โดยเฉพาะบริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)  หรือ  (web)
                   จึงกล่าวได้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง  "วิทยาการต่างๆ  ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง"   กล่าวคือ  เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  กับการจัดการสารสนเทศ  ที่อาศัยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์  และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเป็นหลัก  ตั้งแต่การรวบรวม  การจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล  การพิมพ์  การสร้างรายงาน  การสื่อสารข้อมูล  ฯลฯ  เพื่อให้ได้สารสนเทศไว้ใช้งานได้อย่างทันเหตุการณ์ก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในด้านการผลิต  การบริการ  การบริหารและ การดำเนินงานต่าง ๆ   รวมทั้งเพื่อการศึกษา และการเรียนรู้   ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ  การค้า  และการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และคุณภาพของประชาชนในสังคม
                   ปัจจุบันเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในทุกวงการ  เช่น  นำมาใช้ในวงการแพทย์  เรียกว่า  เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) นำมาใช้ทาง การเกษตร เรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร (AgriculturalTechnology)  นำมาใช้ทางการอุตสาหกรรม เรียกว่า เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Industrial Technology)นำมาใช้ทางการสื่อสาร เรียกว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) และนำมาใช้ในวงการอื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้งนำมาใช้ในวงการศึกษา ที่เรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) เทคโนโลยีการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่ม ได้แก่
                   1. เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion Picture Technology)
                   2. เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology)
                   3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
                   4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology)
                   บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์  ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร  โครงข่าย
โทรศัพท์ อุปกรณ์ ภาพและเสียง มีผลกระทบต่อ "สื่อแบบดั้งเดิม" (Traditional Media) ซึ่งได้แก่หนังสือพิมพ์นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทำให้  เกิดสิ่งที่เรียกว่า  " การปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข"   (DigitalRevolution)  ทำให้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์ใด เช่น ข้อความเสียงภาพเคลื่อนไหวรูปภาพ หรืองานกราฟิก ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นภาษาอีกชนิดหนึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด  คือสามารถอ่านและส่งผ่านได้อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วยังสามารถนำเสนอในลักษณะใดก็ได้ตามความต้องการใช้งาน ของผู้ใช้งาน ความเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเรียกขานว่า "การทำให้เป็นระบบตัวเลข" หรือ"ดิจิไทเซชั่น" (Digitization) ด้วยระบบที่มีการทำให้เป็นระบบตัวเลข เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิด "สื่อใหม่" (New Media) ขึ้น เป็นสื่อที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ หรือ "อินเตอร์ แอคทีฟ"(Interactive)
                   เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)  คือเทคโนโลยีดิจิตัล (Digital Technology)
ประเภทหนึ่งซึ่งได้พัฒนาตัวเพื่อเอื้อต่อการจัดการ  การสื่อสาร(Communication)หรือ การขนส่งข่าวสาร(Transfer of Information)  เทคโนโลยีการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ (Image) เสียง (Voice)  หรือทางด้านข้อมูล (Data) ได้รับการพัฒนาจนมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว  และเป็นเครือข่ายที่ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก  เป็นยุคของสารสนเทศ (Information Age) และเป็นสังคมสาร- สนเทศ(Information Society) ที่นับวันจะมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกที่ทั้งในด้านขนาดและปริมาณข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่ในสังคม (ธวัชชัย พานิชยกรณ์, 2539)
ความหมายของเทคโนโลยีการสื่อสาร
                   เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ ๆที่ทันสมัย  มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น และประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตามเทคโนโลยีเป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct)ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
                   เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผลพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
                  ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell.
1993 : 449)
                         1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่าง ๆ  ที่ได้รวบรวมไว้  เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ  โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
                         2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
                         3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product)   เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
                   สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology)ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึง
หมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
                   พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้
                         1)  การใช้ทางวิทยาศาสร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม
                         2) องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
                         3) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ
เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
                    บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
                   เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และ
กระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้วกล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของกระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
                   สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ (2541) หมายถึงวิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการ
ประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และ
ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ใน
ความหมายนี้ เทคโนโลยีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
                   เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการ
ดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล และจากความหมายดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า
                   เทคโนโลยี  เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจน
ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์  ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์ และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงาน  เพื่อช่วยให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็น
เกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84)  คือ
                         1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
                         2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
                         3. ประหยัEconomy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
ข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบต่อตัวนักศึกษาหรือสังคม จากบทความเรื่องบทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
ข้อดี     :  มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารซึ่งมีความรวดเร็ว
ข้อเสีย  :  เกิดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดอาชญากรรมบนอินเตอร์เน็ต 
               การล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต
ผลกระทบต่อตัวนักศึกษาหรือสังคม :  การเรียนการสอนทางไกล(Tele-Education ) เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

AS/RS

 ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ     (  Automated Storage/Retrieval System  หรือเรียก  AS/RS ) คือ การทำงานของระบบการจั...